เห็นชื่อบทความแล้ว....ขอบอกก่อนว่า ไม่ได้มาไบ้หวยนะครับ....แต่มันคือ เทคนิคพิเศษที่จะช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นนั่นเอง...
เทคนิคนี้ เป็นเทคนิคที่ทำได้ง่ายมาก ๆ และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ มาช่วยเหลือ สิ่งที่เราต้องใช้ก็แค่ "ปอด" เท่านั้น.... ใช่แล้วครับ แค่หายใจอย่างถูกวิธีตามเทคนิคนี้นั่นเอง
ก่อนเข้าเรื่อง ขอเกริ่นที่มาที่ไปของเทคนิคนี้ สักหน่อยนะครับ... เทคนิค 4-7-8 นี้ เป็นรูปแบบการหายใจที่คิดค้นโดย ดร. แอนดรู เวล (Dr. Andrew Weil) ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชายการแพทย์บูรณาการ (Integrative Medicine) ซึ่งมีชื่อเสียงมากที่ประเทศอเมริกา ครับ
เทคนิคนี้นั้น มีพื้นฐานมาจากศาสตร์โยคะโบราณ ชื่อ ปราณายามะ (Pranayama) ซึ่งเป็นการฝึกควบคุมลมหายใจให้ช้าลง จนทำให้ผู้ฝึกอยู่ในสภาวะหายใจช้า หรือไม่หายใจได้...
เป็นไงครับ อ่านที่มาแล้ว สนใจมากขึ้นหรือยัง?.... เทคนิคที่มาจากศาสตร์ที่ฝึกให้หยุดหายใจ....
เริ่มต้นด้วยการจะนั่ง หรือ นอน ก็ได้....โดย ถ้าจะผ่อนคลายไม่อยากหลับก็นั่งในท่าสบาย ๆ หลังไม่ค่อม...ประมาณว่านั่งสมาธินั่นแหละครับ แต่ถ้าจะฝึกเพื่อต้องการให้หลับง่าย ก็นอนไปเลยครับ... จากนั้นก็ พ่นลมหายใจออกทางปาก โดยพยายามให้ลมออกจากปอดให้หมด... และก็เริ่มเลย.....
ซึ่งการทำตามข้อ 1-3 นี้ จะนับว่าเป็นการหายใจ 1 ครั้งครับ โดยข้อที่สำคัญที่สุดคือ การกลั้นหายใจ 7 วินาที ครับ... ข้อนี้จัดเป็นหัวใจของเทคนิคนี้
ดร.แอนดรู เวล แนะนำว่าผู้ที่ฝึกใหม่ ควรทำให้ครบ 4 ครั้ง ในการฝึกแต่ละรอบ วันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนรอบในแต่ละครั้ง โดยพยายามเพิ่มไปให้ได้ถึง 8 ครั้งครับ
นอกจากนี้การฝึกนี้ หลังจากฝึกเสร็จ ควรนั่งพักผ่อนอีกสักหน่อย ก่อนไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ครับ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว เนื่องจากร่างกายเราจะปรับสภาพไม่ทัน
ดังนั้นจึงควรฝึกในตอนเช้า หรือ ตอนเย็น ที่เราสามารถนั่งสบาย ๆ ได้ หลังจากฝึกครับ....
สำหรับประโยชน์ของการฝึกหายใจแบบนี้นั้น มีลงในบทความของวารสารวิชาการ Health Science Journal เมื่อปี 2011 ครับ ซึ่งได้สรุปผลลัพธ์ของการหายใจแบบนี้อยู่ 6 ข้อคือ
โดยการศึกษานี้ ได้แนะนำให้ฝึกหายใจแบบนี้ 6 อาทิตย์ก็จะเห็นผลครับ
ถ้าใครอยากจะลองฝึก ผมมีแอปชื่อ Breathe มาแนะนำครับ แอปนี้สามารถช่วยฝึกการหายใจแบบนี้
สุดท้าย จากที่ผมทดลองทำ.... แรก ๆ มันก็ทำยากเหมือนกันนะครับ แต่ก็พอทำได้ ใครที่สนใจแนวทางรักษาสุขภาพใหม่ ๆ ก็ลองทำดูนะครับ ลองสัก 6 สัปดาห์ (เดือนครึ่ง) แล้วค่อยประเมินว่าจะทำต่อดีไหม?....
ตบท้ายด้วย...ลิงค์ต้นทางที่ผมอ่านมาครับ... ใครสนใจจะอ่านข้อมูลเพิ่มเติมก็ตามลิงค์ไปเลย